วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีป ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตัวออกเฉียงใต้ของเอเชียแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางการเมืองแล้ว หมู่เกาะอันดามันจะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายชื่อประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศดังนี้:
• ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
• ประเทศกัมพูชา
• ประเทศติมอร์ตะวันออก
• ประเทศอินโดนีเซีย
• ประเทศลาว
• ประเทศมาเลเซีย
• ประเทศพม่า
• ประเทศฟิลิปปินส์
• ประเทศสิงคโปร์
• ประเทศไทย
• ประเทศเวียดนาม
ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งตามภูมิศาสตร์ได้เป็นสองภูมิภาค คือ คาบสมุทรอินโดจีน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่ - mainland Southeast Asia) และ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทะเล - maritime Southeast Asia)
ผืนแผ่นดินใหญ่ของหมู่เกาะตะวันออกเฉียงใต้ ที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยมีช่องแคบเล็กๆ 4 แห่ง เป็นทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง คือ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์. นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียและออสเตรเลียอีกด้วย
ลักษณะภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ราบ ภูเขา แม่น้ำ ช่องแคบ ป่าทึบ และเกาะต่างๆ มากมาย ซึ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่ แผ่นดินใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 807,000 ตารางไมล์ ประกอบด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาที่ทอดทางแนวเหนือใต้. เทือกเขาเหล่านี้มีชื่อแตกต่างกัน คือ เทือกเขาอะระกันโย ทางตะวันตกของพม่า, เทือกเขาเปกูโยมา และหมู่เกาะ จะประกอบด้วยหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เทือกเขาเปกูโยมาเป็นเทือกเขาเล็กๆ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะมีฝนตกตลอดทั้งปี ส่วนประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จะมีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลของ “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ลมมรสุมจะพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตกบนผืนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้มี “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” อยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม พัดผ่านประเทศจีนมายังภูมิภาคนี้ ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง ยกเว้นทางใต้ คือ บริเวณภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา บอร์เนียว ชวา และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ซึ่งมีฝนตกชุกตลอดปี ดังนั้น ภูมิอากาศโดยทั่วไปจึงมีทั้งร้อนอบอ้าว ฝนตกชุกและชุ่มชื้น นอกจากลมประจำทั้ง 2 ฤดูแล้ว ลมอีกประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ “ลมพายุ” ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีในบริเวณน่านน้ำทางตะวันออก คือ บริเวณทะเลจีนใต้ ลมพายุที่พัดผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามอัตราความเร็วของลม คือ พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น ลมพายุเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดฝนตกแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรที่อยู่ในบริเวณที่พายุพัดผ่านเสมอ เช่น ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ลมแรง เป็นต้น ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากกว่าประเทศอื่นๆ คือ เวียดนามและฟิลิปปินส์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดของพายุ และไม่มีสิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ทันท่วงทีเมื่อพายุมาถึง

ไม่มีความคิดเห็น: