วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

รูปแบบรายการ



ชั่วโมงแรก 14.00-15.00น.

ช่วงแรก เกาะกระแสอุษาคเนย์
ช่วงสอง สีสันอุษาคเนย์

ชั่วโมงที่สอง 15.00-16.00 น.

ช่วงแรก คลื่นอุษาคเนย์
ช่วงสอง ปริศนาอุษาคเนย์

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

รายการ “อุษาคเนย์”

รู้จักตนเองและเพื่อนบ้านในภูมิภาคอุษาคเนย์ 11 ประเทศ (เอเซียตะวันออกเฉียงใต้) เพื่อความรัก ความเข้าใจและความสมานฉันต์
ขอเชิญฟังรายการ “อุษาคเนย์”
http://radio.mcot.net/fm965/index.php
ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม
และความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน
ทางวิทยุ อสมท. เอฟ เอ็ม 96.5 เมกกะเฮิร์ซ
ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00 – 16.00 น.
ดำเนินรายการโดย ธีรภาพ โลหิตกุลและกิติมาภรณ์จิตราทร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีป ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตัวออกเฉียงใต้ของเอเชียแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางการเมืองแล้ว หมู่เกาะอันดามันจะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายชื่อประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศดังนี้:
• ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
• ประเทศกัมพูชา
• ประเทศติมอร์ตะวันออก
• ประเทศอินโดนีเซีย
• ประเทศลาว
• ประเทศมาเลเซีย
• ประเทศพม่า
• ประเทศฟิลิปปินส์
• ประเทศสิงคโปร์
• ประเทศไทย
• ประเทศเวียดนาม
ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งตามภูมิศาสตร์ได้เป็นสองภูมิภาค คือ คาบสมุทรอินโดจีน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่ - mainland Southeast Asia) และ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทะเล - maritime Southeast Asia)
ผืนแผ่นดินใหญ่ของหมู่เกาะตะวันออกเฉียงใต้ ที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยมีช่องแคบเล็กๆ 4 แห่ง เป็นทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง คือ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์. นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียและออสเตรเลียอีกด้วย
ลักษณะภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ราบ ภูเขา แม่น้ำ ช่องแคบ ป่าทึบ และเกาะต่างๆ มากมาย ซึ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่ แผ่นดินใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 807,000 ตารางไมล์ ประกอบด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาที่ทอดทางแนวเหนือใต้. เทือกเขาเหล่านี้มีชื่อแตกต่างกัน คือ เทือกเขาอะระกันโย ทางตะวันตกของพม่า, เทือกเขาเปกูโยมา และหมู่เกาะ จะประกอบด้วยหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เทือกเขาเปกูโยมาเป็นเทือกเขาเล็กๆ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะมีฝนตกตลอดทั้งปี ส่วนประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จะมีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลของ “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ลมมรสุมจะพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตกบนผืนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้มี “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” อยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม พัดผ่านประเทศจีนมายังภูมิภาคนี้ ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง ยกเว้นทางใต้ คือ บริเวณภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา บอร์เนียว ชวา และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ซึ่งมีฝนตกชุกตลอดปี ดังนั้น ภูมิอากาศโดยทั่วไปจึงมีทั้งร้อนอบอ้าว ฝนตกชุกและชุ่มชื้น นอกจากลมประจำทั้ง 2 ฤดูแล้ว ลมอีกประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ “ลมพายุ” ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีในบริเวณน่านน้ำทางตะวันออก คือ บริเวณทะเลจีนใต้ ลมพายุที่พัดผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามอัตราความเร็วของลม คือ พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น ลมพายุเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดฝนตกแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรที่อยู่ในบริเวณที่พายุพัดผ่านเสมอ เช่น ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ลมแรง เป็นต้น ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากกว่าประเทศอื่นๆ คือ เวียดนามและฟิลิปปินส์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดของพายุ และไม่มีสิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ทันท่วงทีเมื่อพายุมาถึง

อุษาคเนย์

อุษาคเนย์ แปลว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไมเคิล ไรท์ นักเขียนผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี เป็นผู้คิดผูกศัพท์คำนี้ใช้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมเป็นครั้งแรก แล้วมีผู้นิยมใช้ตามอย่างแพร่หลาย
ไมเคิล ไรท์ หรือไมค์ เล่าถึงที่มาของการคิดผูกศัพท์คำ “อุษาคเนย์" ไว้ในหนังสือชื่อ ฝรั่งอุษาคเนย์ ของสำนักพิมพ์มติชน พอสรุปได้ดังนี้
ไมค์เป็นนักเขียนประจำของนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในงานเขียนของเขานั้นจำเป็นต้องใช้คำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่บ่อยครั้ง ไมค์นึกรำคาญคำ เอเชียอาคเนย์ หรือ อาเชียอาคเนย์เพราะมีมากพยางค์ ต้องเขียน "อา” ถึงสองครั้ง จึงคิดหาคำใหม่มาแทน

ไมค์บอกว่าหลักการทางภาษานั้นจะไม่สมาสคำข้ามภาษาคำว่า "อาเชียอาคเนย์” (ฝรั่งเศส + สันสกฤต) หรือ “เอเชียอาคเนย์” (อังกฤษ + สันสกฤต) ต่างเป็นการสมาสข้ามภาษา ไมค์นึกถึงคำ “อุษา” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต

อุษา เป็นชื่อนางฟ้าที่มีนิ้วสีชมพู และมีหน้าที่คลี่พระวิสูตรแห่งราตรีกาล, เปิดทางให้สุริยเทพเสด็จขึ้นฟ้า, ประทานชีวิตและความสำราญแก่สรรพสัตว์ที่ค่อยขยี้ตาตื่นจากความหลับใหลด้วยเหตุผลดังกล่าว คำ “อุษา” จึงหมายถึง “ตะวันออก” ไปด้วย
คำในภาษายุโรปต่าง ๆ ที่หมายถึงตะวันออก เช่น East, Oste, Aus, Asia, Ostro, Easter ฯลฯ ล้วนแต่มาจากรากศัพท์อินโด-ยุโรป “Awes-” หรือ "Aus-” ซึ่งตรงกับคำ "อุษา” ในภาษาสันสกฤต
ไมค์จึงนำคำ “อุษา” มาแทน “เอเชีย” ซึ่งได้ทั้งความหมายและความถูกต้องในการสมาสคำ อีกทั้งคำ “อุษาคเนย์” ก็สั้นกะทัดรัดกว่า เหลือเพียงสี่พยางค์
เมื่อไมค์ใช้คำ “อุษาคเนย์” แทน “เอเชียอาคเนย์” เขาจึงเห็นว่าควรจะใช้คำ “อุษาทวีป” แทน “ทวีปเอเชีย” ด้วย
ในแวดวงนักเขียน คำ “อุษาคเนย์” นับว่าเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง นักเขียนของ สารคดี ก็ใช้ตามไมค์ เพราะเห็นดีเห็นงามด้วย

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ไมค์ออกตัวว่า “มีคนไทยหลายท่านนิยมใช้คำว่า 'อุษาคเนย์' โดยให้เกียรติแก่ผมว่าเป็นผู้คิดขึ้นมาผมตกใจและไม่ยอมรับ” ทำไม ไมค์จึงพูดเช่นนั้น อ่านรายละเอียดได้ใน ฝรั่งอุษาคเนย์ หนังสือรวมบทความเล่มที่ ๒ ของ ไมเคิล ไรท์ (เล่มแรก คือฝรั่งคลั่งสยาม)

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”